เมนู

3. สมาธิสูตร


ว่าด้วยธรรมของผู้ไม่ควรและผู้ควรบรรลุสัมมาสมาธิ


[113] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 5 ประการ
ย่อมไม่ควรเพื่อบรรลุสัมมาสมาธิ ธรรม 5 ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้ ย่อมไม่อดทนต่อรูปารมณ์ 1 ไม่อดทนต่อสัททารมณ์ 1 ไม่
อดทนต่อคันธารมณ์ 1 ไม่อดทนต่อรสารมณ์ 1 ไม่อดทนต่อโผฏฐัพพารมณ์ 1
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 5 ประการนี้แล ย่อมไม่ควร
เพื่อบรรลุสัมมาสมาธิ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 5 ประการ ย่อมควร
เพื่อบรรลุสัมมาสมาธิ ธรรม 5 ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
อดทนต่อรูปารมณ์ อดทนต่อสัททารมณ์ อดทนต่อคันธารมณ์ 1 อดทน
ต่อรสารมณ์ 1 อดทนต่อโผฏฐัพพารมณ์ 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้
ประกอบด้วยธรรม 5 ประการนี้แล ย่อมควรเพื่อบรรลุสัมมาสมาธิ.
จบสมาธิสูตรที่ 3

4. อันธกวินทสูตร


ว่าด้วยธรรมของภิกษุใหม่ 5 ประการ


[11 ] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่อันธกวินทวิหาร
ในแคว้นมคธ ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่
ประทับ ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าได้ตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า ดูก่อนอานนท์ พวกภิกษุใหม่ บวช
ไม่นาน มาสู่ธรรมวินัยนี้ใหม่ ๆ เธอทั้งหลายพึงให้สมาทาน ให้ตั้งมั่น ให้
ประดิษฐานอยู่ในธรรม 5 ประการ ธรรม 5 ประการเป็นไฉน คือ
ภิกษุใหม่เหล่านั้นอันเธอทั้งหลายพึงให้สมาทาน ให้ตั้งมั่น ให้
ประดิษฐานอยู่ในปาติโมกขสังวรดังนี้ว่า อาวุโส ท่านทั้งหลายจงมา จงเป็น
ผู้มีศีล จงเป็นผู้สำรวมในปาติโมกขสังวร จงเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอาจาระและ
โคจร มีปกติเห็นภัยในโทษมีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบท
ทั้งหลาย 1.
ภิกษุใหม่เหล่านั้นอันเธอทั้งหลายพึงให้สมาทาน ให้ตั้งมั่น ให้
ประดิษฐานอยู่ในอินทรียสังวร ดังนี้ ว่า อาวุโส ท่านทั้งหลายจงมา จงเป็นผู้
คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย จงเป็นผู้มีสติเครื่องรักษาทวาร รักษาตน
มีใจที่รักษาดีแล้ว ประกอบด้วยจิตมีสติเป็นเครื่องรักษา 1.
ภิกษุใหม่เหล่านั้นอันเธอทั้งหลายพึงให้สมาทาน ให้ตั้งมั่น ให้
ประดิษฐานอยู่ในการทำที่สุดแห่งคำพูด ดังนี้ ว่า อาวุโส ท่านทั้งหลายจงมา
จงเป็นผู้มีคำพูดน้อย จงเป็นผู้ทำที่สุดแห่งคำพูด [อย่าพูดมาก] 1.
ภิกษุใหม่เหล่านั้นอันเธอทั้งหลายพึงให้สมาทาน ให้ตั้งมั่น ให้
ประดิษฐานอยู่ในการทำความสงบแห่งกาย ดังนี้ ว่า อาวุโส ท่านทั้งหลายจงมา
จงเป็นผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร จงเสพอาศัยเสนาสนะอันสงัด คือ ป่าและ
ป่าเปลี่ยว 1.
ภิกษุใหม่เหล่านั้นอันเธอทั้งหลายพึงให้สมาทาน ให้ตั้งมน ให้
ประดิษฐานอยู่ในความเห็นชอบ ดังนี้ ว่า อาวุโส ท่านทั้งหลายจงมา จงเป็นผู้
มีสัมมาทิฏฐิ ประกอบด้วยสัมมาทัสสนะ 1.

ดูก่อนอานนท์ พวกภิกษุใหม่ บวชไม่นาน มาสู่ธรรมวินัยนี้ใหม่ ๆ
เธอทั้งหลายพึงให้สมาทาน ให้ตั้งมั่น ให้ประดิษฐานอยู่ในธรรม 5 ประการ
แล.
จบอันธกวินทสูตรที่ 4

อรรถกถาอันธกวินทสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในอันธกวินทสูตรที่ 4 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า สีลวา โหถ ความว่า จงเป็นผู้มีศีล. บทว่า อารกฺขสติโน
ความว่า เป็นผู้ประกอบด้วยสติเป็นเครื่องรักษา. บทว่า นิปกสติโน ความว่า
มีสติประกอบด้วยญาณเป็นเครื่องรักษานั่นแหละ. บทว่า สตารกฺเขน เจตสา
สมนฺนาคตา
ความว่า ประกอบด้วยจิตที่มีเครื่องรักษาคือสติ. บทว่า อปฺป-
ภสฺสา
แปลว่า พูดแต่น้อย. บทว่า สมฺมาทิฏฺฐิกา ความว่า ประกอบ
ด้วยสัมมาทิฏฐิ 5 อย่าง คือ กัมมัสสกตา 1 ฌาน 1 วิปัสสนา 1
มรรค 1 ผล 1. อีกอย่างหนึ่ง แม้ปัจจเวกขณญาณ ก็พึงทราบว่า เป็น
สัมมาทิฏฐิเหมือนกัน.
จบอรรถกถาอันธกวินทสูตรที่ 4